ข้อควรระมัดระวังสำหรับคนที่เริ่มต้นลดน้ำหนัก

ในการรักษาน้ำหนักตัวให้คงอยู่ในระดับที่เป็นปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนสูง โครงสร้างของรูปร่าง และช่วงอายุ คือสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการมีสุขภาพที่ดี แต่บางทีการลดน้ำหนักอย่างถูกต้องตามวิธีการ โดยการระวังในเรื่องสิ่งของที่รับประทานและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่สามารถที่จะลดน้ำหนักตามที่คุณต้องการได้ เนื่องจากสาเหตุบางอย่างที่คุณนั้นก็อาจนึกไม่ถึงเลยค่ะ

- การกักเก็บน้ำของร่างกาย ลองลดปริมาณของอาหารที่เป็นสาเหตุของการกักเก็บน้ำในร่างกายให้มากขึ้น อย่างเช่น เกลือ หรือน้ำอัดลม ฯลฯ ดูสิคะ แล้วหันมารับประทานผลไม้ อย่างแตงโม หรือส้ม ซึ่งจะช่วยทำให้การกักเก็บน้ำในร่างกายลดลงและสามารถช่วยขจัดน้ำที่อยู่ในร่างกายได้มากขึ้นด้วย

- แพ้อาหารบางชนิด อาการแพ้อาหารนั้นก็อาจจะเป็นปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่อาจจะทำให้น้ำหนักตัวของคุณไม่มีการขยับลดลงเลย ข้อมูลของการแพ้อาหารที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่พบกันมากที่สุดก็คือ การแพ้จากการรับประทานข้าวสาลี เนื่องจากว่าในข้าวสาลีนั้น มีส่วนผสมของกลูเตน ที่อาจจะไปรบกวนระบบการย่อยได้ การแพ้ข้าวสาลีจึงมีผลทำให้มีปัญหาในการย่อยอาหาร ทำให้มีอาการท้องผูก ท้องอืด เป็นตะคริวง่าย อารมณ์แปรปรวน คลื่นไส้ และมีความอยากอาหารบ่อยๆ นอกจากนี้แล้ว คุณก็อาจจะไปตรวจเช็คอาการแพ้อย่างอื่นด้วย เพราะอาการแพ้อื่นๆ ก็อาจจะส่งผลต่อน้ำหนักตัว และเกิดอาการบวมได้เช่นเดียวกันค่ะ

- เกิดจากพันธุกรรม ข้อมูลจากการวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญมีความเชื่อว่า พันธุกรรมนั้นมีความสัมพันธ์กับการเป็นโรคอ้วนมากถึง 30% – 40% แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณบังเอิญมียีนส์อ้วนอยู่ในตัวล่ะก็ ใช่ว่าคุณจะหมดความหวังว่าจะลดน้ำหนักไม่ได้เลย เพราะข้อมูลจากนักวิจัยชาวเยอรมันได้พบว่า คนที่ทำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง ก็อาจจะช่วยให้คุณสามารถลดน้ำหนักลงได้

- ทำการออกกำลังกายในแบบเดิมๆ ร่างกายของเรานั้นสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกิจวัตรในการออกกำลังกายที่คุณทำเป็นประจำ โดยปรับตัวให้ใช้พลังงานลดน้อยลงได้ ดังนั้นแล้ว การเปลี่ยนกิจวัตรในการออกกำลังกาย หรือลองทำการออกกำลังในแบบใหม่ๆ ดู ก็จะสามารถช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของเราใช้พลังงานได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยในการเผาผลาญพลังงานของร่างกายด้วย

- พักผ่อนนอนหลับไม่เพียงพอ มีข้อมูลจากงานวิจัยในหลายๆ ชิ้นงาน พบถึงความเชื่อมโยงกันระหว่างการนอนหลับ กับฮอร์โมนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเรา ฮอร์โมนที่ว่านั้นได้แก่ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อความรู้สึกหิว และฮอร์โทนเลปติว (Leptin) ที่จะคอยทำหน้าที่บอกกับสมองว่า เมื่อไหร่ที่ควรจะหยุดรับประทาน แต่ถ้าคุณมีเวลาพักผ่อน หรือนอนหลับไม่เพียงพอ เจ้าฮอร์โมนเกรลินนี้จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ขณะที่ฮอร์โมนเลปติวจะมีปริมาณลดน้อยลง ผลที่ได้ก็คือความอยากอาหารเพิ่มขึ้น และแม้ว่าจะรับประทานเยอะ ก็ยังไม่รู้สึกอิ่ม คนส่วนใหญ่นั้นต้องการเวลาในการพักผ่อนนอนหลับประมาณวันละ 7-9 ชั่วโมง บางคนอาจจะนอนมาก บางคนอาจจะนอนน้อย

ถ้าเป็นเช่นนี้ เราจะรู้ได้อย่างไรกันล่ะ ว่าจะต้องนอนแค่ไหนถึงจะเพียงพอ ? ผู้เชี่ยวชาญได้บอกเอาไว้ว่า ให้นอนให้นานที่สุดเท่าที่ต้องการ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายๆ วัน จากนั้นแล้วการนอนของคุณก็จะคงที่ และคุณจะสามารถพบได้ว่า ตัวคุณเองนั้นสามารถตื่นขึ้นมาเองได้หลังจากที่ได้นอนครบชั่วโมงตามที่ร่างกายต้องการแล้ว (บวกลบประมาณ 15 นาที) เมื่อคุณรู้ว่าตัวคุณเองนั้นต้องนอนเท่าไหร่ ก็สามารถทำเป็นกิจวัตรได้ และยังจะสามารถช่วยลดน้ำหนักของคุณได้อีกด้วย

Credit >> http://www.shape.in.th